แรงงาน

“หม่อมเต่า” ถกสถานประกอบกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก รับมือผลกระทบการรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติก

“หม่อมเต่า” ถกสถานประกอบกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก รับมือผลกระทบการรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติก

  กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เชิญผู้ประกอบกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือประเภทกิจการในกลุ่มพลาสติก หารือร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการได้รับผลกระทบจากการรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติก เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน           หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยในฐานะประธานการประชุมหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกว่า การขับเคลื่อนเรื่องขยะพลาสติก รัฐบาลได้เร่งรัดการดำเนินแผนงานตามโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 มีเป้าหมายลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2565 ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติกเป็นกิจกรรมชื่อ “Everyday Say No To Plastic Bags” จากการบูรณาการร่วมกันของภาครัฐบาล ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจนร้านสะดวกซื้อทั้ง 75 บริษัท     ทั่วประเทศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การขับเคลื่อน ลด ละ เลิกใช้พลาสติกเริ่มจากงดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้ว     ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา นำไปสู่การแก้ปัญหาขยะพลาสติกให้เป็นรูปธรรม จากสถานการณ์ดังกล่าว  อาจส่งผลกระทบกับผู้ประกอบกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือประเภทกิจการในกลุ่มพลาสติก ซึ่งหากสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นเลิกกิจการ ก็อาจส่งผลให้ลูกจ้างตกงาน ดังนั้น จึงได้เชิญมาร่วมกันหารือ รับฟังข้อเสนอแนะ […]

กสร. เปิดสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

กสร. เปิดสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เชิญชวนสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ และสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ร่วมเสนอชื่อผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งและแจ้งชื่อผู้ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและ ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร.จะดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบด้วย คณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยได้กำหนดจำนวนผู้แทนในแต่ละคณะฝ่ายละ 5 คน ซึ่งจะมีวาระดำรงตำแหน่งคณะละ 2 ปี จึงขอเชิญชวนสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ และสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ร่วมเสนอชื่อผู้แทนเป็นผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งทั้ง 3 คณะ ได้ระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม 2563 และแจ้งผู้ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ถึง 9 มีนาคม 2563 […]

“หม่อมเต่า” เบาใจ หลังสำรวจยังไม่พบลูกจ้างติดไวรัสโคโรน่า

“หม่อมเต่า” เบาใจ หลังสำรวจยังไม่พบลูกจ้างติดไวรัสโคโรน่า

หม่อมเต่า เบาใจหลังสั่งสำรวจสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เผยยังไม่พบผู้ใช้แรงงานติดเชื้อ ขณะที่สถานประกอบกิจการตื่นตัวมีมาตรการป้องกัน ​​​​​​​           หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่าในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ว่า ได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสำรวจสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวนมากทั่วประเทศกว่า 1,900 แห่ง ลูกจ้าง 2.2 ล้านคน ทั้งในกิจการประเภทอุตสาหกรรม งานขายและงานบริการถึงมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผลการสำรวจพบว่าขณะนี้ยังไม่มีผู้ใช้แรงงานติดเชื้อไวรัสดังกล่าว ขณะที่สถานประกอบกิจการให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและได้มีการจัดทำมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวแล้ว             ด้านนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการในป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าของสถานประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมมีมาตรการต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าและการป้องกันการตรวจคัดกรองลูกจ้างก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน การรณรงค์เรื่องสุขอนามัย การเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดและใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณที่มีลูกจ้างใช้งานจำนวนมาก เป็นต้น สำหรับสถานประกอบกิจการประเภทงานบริการ ห้างสรรพสินค้า และโรงแรม นอกจากจะมีมาตรการในป้องกันสำหรับลูกจ้างแล้ว ยังมีมาตรการป้องกันในส่วนของลูกค้า ผู้ใช้บริการด้วย เช่น ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ การตรวจคัดกรองลูกค้า ผู้ใช้บริการ จัดจุดบริการเจลล้างมือในจุดต่าง ๆ เช่น แผนกต้อนรับ/ติดต่อลูกค้า/ห้องอาหาร อย่างเพียงพอ เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดและใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่มีลูกค้า ผู้ใช้บริการใช้งานจำนวนมาก เช่น […]

กสร. เปิดรับสมัครผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง

กสร. เปิดรับสมัครผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดรับสมัครผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเพื่อเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง ทำหน้าที่สำคัญในการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาท และพิจารณาคดีในศาลแรงงาน           นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร.เปิดรับสมัครผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง เพื่อเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง โดยผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 14/1 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เช่น มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี  มีภูมิลำเนาหรือสถานที่ทำงานอยู่ในเขตศาลแรงงานไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นต้น องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อผู้สมัครคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง ได้แก่ สมาคมนายจ้าง รัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงาน และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานในเขตกรุงเทพมหานครสามารถเสนอชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 9 มีนาคม 2563 กรณีคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดกระทรวงแรงงาน เช่น คณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือสภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้างทุกสภาฯ เป็นผู้เสนอชื่อสามารถเสนอได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2563           นายอภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในกระบวนการไกล่เกลี่ย […]

กสร. ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ใช้ “ประชารัฐ” ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

กสร. ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ใช้ “ประชารัฐ” ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบอย่างเป็นรูปธรรม ก้าวสู่ภาพลักษณ์ใหม่นำแนวคิด“ประชารัฐ”เป็นกลไกความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ลดความเหลื่อมล้ำด้านแรงงาน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า แรงงานนอกระบบ เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่มีจำนวนมากถึง 20.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 54.30 ของผู้มีงานทำทั้งประเทศ ที่ผ่านมากรมขับเคลื่อนภารกิจด้านแรงงานนอกระบบโดยการส่งเสริมการทำงานแบบบูรณาการในเชิงยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ระดับวางแผนไปถึงการปฏิบัติการที่มุ่งพัฒนาการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายและเข้าถึงบริการของรัฐ โดยการกำหนดแนวทาง มาตรการ และวิธีปฏิบัติด้านการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ยึดหลักความเสมอภาค เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์แรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2561 – 2565 เป็นกรอบเพื่อใช้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง และด้วยประเด็นความท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้กรมต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานเพื่อให้มีทิศทางการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป อธิบดี กสร. กล่าวต่อว่า เพื่อให้การวางแผนการคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาแรงงานนอกระบบไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต จึงได้เชิญผู้บริหาร คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการคุ้มครองแรงงานนอกระบบในส่วนกลาง ผู้แทนจากหน่วยงานราชการภายนอก หน่วยงานเอกชน เครือข่ายแรงงานนอกระบบ คณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน […]

กสร.ผลักดันมาตรฐานแรงงานไทย เสริมสร้าง CSR ในสถานประกอบการ

กสร.ผลักดันมาตรฐานแรงงานไทย เสริมสร้าง CSR ในสถานประกอบการ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดโครงการการอบรมการเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงานของสถานประกอบกิจการด้วยมาตรฐานแรงงานไทย มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานและเสริมสร้างให้ธุรกิจมีการพัฒนาที่ยั่งยืน นายอนันต์ บวรเนาวรักษ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กล่าวในฐานะประธานเปิดการอบรม โครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงานของสถานประกอบกิจการด้วยมาตรฐานแรงงานไทยว่า กสร.ได้กำหนดนโยบายในการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานและเสริมสร้างให้ธุรกิจมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการเข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labour Standards : TLS) เป็นข้อกำหนดที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากล สถานประกอบการที่นำข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทยไปปฏิบัตินอกจากจะก่อให้เกิดสภาพการจ้างที่เป็นธรรม แรงงานมีผลิตภาพที่ดี สร้างความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงานให้เกิดขึ้นในองค์กร อันเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าให้กับสถานประกอบการอีกทางหนึ่งด้วย นายอนันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้สถานประกอบการที่สนใจนำมาตรฐานแรงงานไทยไปใช้ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย และสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านแรงงานเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานแรงงานไทยต่อไป กสร. จึงได้จัดการอบรมการเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงานของสถานประกอบกิจการด้วยมาตรฐานแรงงานไทยขึ้น โดยในวันนี้ เป็นการจัดอบรมให้ความรู้แก่ ผู้แทนสถานประกอบการในพื้นที่เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง และเขตดินแดง ที่ให้ความสนใจในการจัดทำระบบมาตรฐานแรงงานไทย จำนวน ๒๐ คน

กสร. สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายคุ้มครองแรงงาน ช่วยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง ดูแลแรงงานต่างด้าวให้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย

กสร. สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายคุ้มครองแรงงาน ช่วยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง ดูแลแรงงานต่างด้าวให้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เสริมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารชมรมเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวให้เข้มแข็ง เพิ่มทักษะด้านการสอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง และเบาะแสการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวให้เป็นธรรม ทั่วถึงและเท่าเทียม นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กรมได้ดำเนินการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานในระบบ และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว เพื่อทำหน้าที่สอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแส เมื่อพบเห็นการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งแรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ตลอดจนช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงาน ให้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันมีบุคคลหลากหลายภาคส่วนของสังคมได้เข้ามาเป็นเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานเป็นจำนวนมาก และกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,206 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้เข้ามาปฏิบัติงานช่วยเหลือภาครัฐด้วยความเสียสละ ดังนั้น เพื่อให้เครือข่ายดังกล่าวเกิดความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน จึงได้จัด Workshop เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารชมรมเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว และองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะได้นำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเครือข่ายให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิ บทบาทหน้าที่เครือข่ายการคุ้มครองแรงงานในสถานการณ์ในปัจจุบัน กฎหมายคุ้มครองแรงงานไทยกับมาตรฐานสากล เป็นต้น อธิบดี กสร. กล่าวต่อว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในครั้งนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายคุ้มครองแรงงาน ที่จะเป็นหูเป็นตา เป็นกระบอกเสียงให้แก่กรม โดยการช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ นายจ้าง […]

กสร. ทบทวนปรับอัตราน้ำหนักยกของเด็กให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล มุ่งขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

กสร. ทบทวนปรับอัตราน้ำหนักยกของเด็กให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล มุ่งขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทบทวน ปรับปรุงอัตราน้ำหนักยกที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของเด็กเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายในประเทศไทย นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กรมได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยการห้ามและดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดการใช้แรงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย จึงมีการดำเนินการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การใช้เด็กทำงานยกของหนักด้วยแรงกายเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดเข้าข่ายเป็นการให้เด็กทำงานอันตราย ซึ่งถือเป็นการทำงานในรูปแบบที่เลวร้ายรูปแบบหนึ่งตามอนุสัญญาฉบับที่ 182 ดังกล่าว ทั้งนี้ประเทศไทยได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างเด็กทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือของหนักสำหรับเด็กอายุ 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี เพศหญิง ไม่เกิน 20 กิโลกรัม เพศชาย ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศขอให้ประเทศไทยพิจารณาทบทวนปรับอัตราน้ำหนักยกของเด็กให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อธิบดี กสร. กล่าวต่อว่า เพื่อทบทวนมาตรฐานและปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับน้ำหนักยกของเด็กทำงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้เชิญนายจ้าง ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม […]

กสร. อนุมัติเงินกู้ 3 ล้าน ให้สหกรณ์ออมทรัพย์

กสร. อนุมัติเงินกู้ 3 ล้าน ให้สหกรณ์ออมทรัพย์

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุมัติเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน 3 ล้านบาท ให้สหกรณ์ออมทรัพย์โรงแรมรอยัลออคิด เชอราตัน แก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้ลูกจ้างสมาชิกสหกรณ์ 354 คน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานได้มีมติอนุมัติเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน จำนวน 3 ล้านบาท ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์โรงแรมรอยัลออคิด เชอราตัน จำกัด ตั้งอยู่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยในวันนี้ (23 ม.ค. 63) ได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์โรงแรมรอยัลออคิด เชอราตัน จำกัด เพื่อนำไปเป็นทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องและเป็นสินเชื่อให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกได้กู้ยืมเพื่อนำไปลดภาระหนี้สิน และค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งคาดว่าจะเกิดประโยชน์แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ที่มีอยู่จำนวน 354 คน นายอภิญญา กล่าวต่อไปว่า กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการออมทรัพย์ และสนับสนุนการปลดเปลื้องหนี้นอกระบบของผู้ใช้แรงงาน โดยให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำและนำไปให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหกรณ์กู้ต่ออีกทอดนึง เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาจากการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบของลูกจ้าง และพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกจ้างและครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น หากสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจใดสนใจกู้เงินกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน โทรศัพท์ 0 2248 6684 หรือ 0 2246 0383

กสร.เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 62 ไม่รุนแรง

กสร.เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 62 ไม่รุนแรง

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 2562 ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงานลดลง ขณะที่การปิดงาน/หยุดงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่รุนแรงอย่างที่กังวล สั่งการเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง สถานการณ์ พร้อมเร่งส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคี เพื่อป้องกันปัญหาในปีหน้า นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่าในทุกปีนายจ้าง ลูกจ้างจะมีการแจ้งข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง 446 แห่ง ข้อพิพาทแรงงาน จำนวน 69 แห่ง ซึ่งลดลงจากปี 2561 ที่มีข้อเรียกร้อง จำนวน 471 แห่ง ข้อพิพาทแรงงาน จำนวน 82 แห่ง ทั้งนี้ เมื่อคิดอัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานต่อข้อเรียกร้องของปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 15.47 พบว่ามีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 17.41 แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตกลงกันเองในระบบทวิภาคีได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 พบว่า มีสถานประกอบกิจการที่นายจ้างปิดงาน จำนวน 3 แห่ง และมีทั้งนายจ้างปิดงานและลูกจ้างนัดหยุดงาน จำนวน 2 แห่ง […]