ไข้หวัด

เมื่อรับเชื้อ COVID-19 เข้าไปแล้วจะป่วยทุกคนหรือไม่?

เมื่อรับเชื้อ COVID-19 เข้าไปแล้วจะป่วยทุกคนหรือไม่?

โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่รับเชื้อและมีการติดเชื้อ กว่า 80%มักจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่นมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือไอ คล้ายกับเป็นไข้หวัด จะมีผู้ป่วยประมาณ 20%ที่มีอาการป่วยและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคอ้วน COVID-19 * มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลาติดกันหลายวัน * ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ มีอาการเจ็บคอขณะกลืนอาหารหรือพูดคุย * บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน * ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อต่อ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร * เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก หายใจถี่เร็วจากภาวะปอดบวม * แน่นหน้าอก และต้องพยายามหายใจอย่างหนัก * เกิดพังผืด และมีการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด โดยมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ไข้หวัดทั่วไป * มีไข้ต่ำๆ แต่จะดีขึ้นใน 3-4 วัน * […]

เป็นหวัดแบบไหน? ต้องไปหาหมอ

เป็นหวัดแบบไหน? ต้องไปหาหมอ

โรคหวัดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งติดต่อกันผ่านทางลมหายใจและสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย แต่สำหรับโรคหวัดเรื้อรัง มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้จะแสดงอาการที่ต่างๆ กัน หวัดจากเชื้อไวรัส จะมีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ คอหอยและต่อมทอนซิลจะเป็นสีแดง แค่ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำเยอะๆ ดูแลร่างกายให้อบอุ่น กินยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ อาการจะดีขึ้น ไข้จะค่อยๆ ลดลงใน 3-4 วัน และหายเองได้ภายใน 7 วัน หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีไข้สูง เจ็บที่ต่อมน้ำเหลืองด้านข้างลำคอ คอหอยและต่อมทอนซิลแดงจัด และมีฝ้าขาวหรือตุ่มหนอง ควรต้องไปพบแพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบ ซึ่งการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์และเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะ ต้องทานยาจนหมดแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้หายขาดและไม่กลับเป็นซ้ำ เพราะหากทานยาไม่ครบตามกำหนดอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย นอกจากอาการจะไม่ดีขึ้นแล้ว การใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไปก็มีผลทำให้เชื้อดื้อยาได้ ไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส เมื่อหายป่วยร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้น แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดมีหลายสายพันธุ์แตกต่างกันตามช่วงเวลา จึงมีโอกาสติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ อีกได้ ดังนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเอง ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ […]

ลูกเป็นภูมิแพ้หรือแค่หวัดธรรมดา

ลูกเป็นภูมิแพ้หรือแค่หวัดธรรมดา

การที่จะแยกให้ชัดเจนว่าลูกเป็นหวัดหรือภูมิแพ้กันแน่นั้นไม่ง่าย เพราะอาการของทั้งสองโรคนี้ใกล้เคียงกันมาก แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่า? ลูกเป็นภูมิแพ้หรือแค่หวัดธรรมดากันแน่… มาดูกันครับ หวัดมักจะมีน้ำมูกไหลตลอดเกือบทั้งวัน น้ำมูกจะใส หากติดเชื้อไวรัส และเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือเหลือง หากติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จะคัดจมูก จามแต่ไม่มาก อาจมีไข้ร่วมด้วย ในขณะที่ภูมิแพ้ มักจะคันจมูกและจามมาก มีน้ำมูกใสๆ อาจคันตาร่วมด้วย เป็นมากตอนกลางคืนถึงตอนเช้า ตอนกลางวันมักดีขึ้นหรือไม่มีเลย เกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เด็กส่วนใหญ่มักแพ้ไรฝุ่น ซึ่งมีในฟูกที่นอน หมอน ผ้าห่ม หรือตุ๊กตาที่นอนด้วยตลอดคืน เมื่อลุกจากเตียงหรือออกจากบ้าน อาการนี้ก็จะดีขึ้น ยกเว้นสารภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เช่น ขนสัตว์เลี้ยง หรือเกสรดอกหญ้า ไม่มีไข้ร่วมด้วย ลองสังเกตอาการลูกน้อยกันดูนะครับ และไม่ว่าจะเป็นแค่หวัดธรรมหรือเป็นภูมิแพ้ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมครับ

รับมืออย่างไร? เมื่อลูกรักชักจากไข้สูง

รับมืออย่างไร? เมื่อลูกรักชักจากไข้สูง

ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ใครที่ร่างกายปรับตัวไม่ทันก็มักจะเป็นหวัดกันไปตามระเบียบ ไม่เว้นแม้แต่เจ้าตัวน้อย ซึ่งถ้าเมื่อไหร่ที่เป็นหวัด แล้วปล่อยไว้จนมีไข้สูงอาจทำให้เจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด – 6 ปี มีอาการชักขึ้นได้ หมอขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทำ ดังนี้ 1. ตั้งสติให้ดี แล้วจับเจ้าตัวน้อยนอนตะแคง หันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจ หากมีของอยู่ในปากให้เอาออกให้หมด 2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้ลูกหายใจสะดวก 3. ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดตัวจนไข้ลด 4. เมื่อหยุดชักแล้ว แนะนำให้พาลูกน้อยไปหาหมอ เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียดอีกครั้ง 5. ห้ามงัดปากขณะชักเด็ดขาด หากใครยังสงสัยและอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/83 หรือโทรสายด่วนสุขภาพ 0-2743-9999 ต่อ 2999

ไซนัสอักเสบภัยร้าย ที่ไม่ได้ซ่อนภายในไข้หวัดเสมอไป

ไซนัสอักเสบภัยร้าย ที่ไม่ได้ซ่อนภายในไข้หวัดเสมอไป

“เป็นหวัดทำให้เกิดไซนัสอักเสบ!” คงเคยได้ยินมาบ่อยเกี่ยวกับความเชื่อนี้ หมอขอบอกว่าจริงครึ่งหนึ่งไม่จริงครึ่งหนึ่งครับ เพราะไซนัสอักเสบไม่ได้เกิดมาจากการเป็นไข้หวัดเสมอไป แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกมาก เช่น น้ำเข้าจมูก การถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงบริเวณใบหน้า หรือแม้กระทั่งมีสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูกเอง และอีกสาเหตุหนึ่งที่ทุกคนมักชะล่าใจและละเลยจนเกิดเป็นไซนัสอักเสบ นั่นก็คือ “การติดเชื้อจากฟันผุ” เพราะรากฟันบางส่วนอยู่ใกล้กับโพรงไซนัส เมื่อฟันเกิดการอักเสบจนถึงราก อาจส่งผลให้เกิดไซนัสอักเสบได้นั่นเองครับ ดังนั้นไม่ใช่แค่คนที่เป็นหวัดเท่านั้นนะครับที่ควรระวังไซนัสอักเสบ แต่ทุกคนควรระวัง เพราะไซนัสอักเสบไม่ว่าใครก็เป็นได้!

แยกได้ไหม ไข้หวัดธรรมดากับแพ้อากาศต่างกันอย่างไร?

แยกได้ไหม ไข้หวัดธรรมดากับแพ้อากาศต่างกันอย่างไร?

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยแบบนี้ ไข้หวัดเริ่มถามหา เอ๊ะ! หรือว่าแค่แพ้อากาศกันแน่? ไข้หวัดกับแพ้อากาศ ถึงแม้ทั้งสองอย่างจะมีอาการคัดจมูก จาม หูอื้อคล้ายกันก็จริง แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันก็คือไข้หวัดจะมีอาการ ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว รู้สึกมีไข้ หรือเจ็บคอร่วมด้วย ส่วนอาการแพ้อากาศจะมีเพียงคันจมูก มีน้ำมูกใส คันหัวตา-หู หรือหูอื้อ เท่านั้น หากมีเพียงอาการคล้ายแพ้อากาศ ควรหลีกเลี่ยงสภาวะที่ทำให้เกิดอาการ ทานยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการก็สามารถช่วยได้ หากใครที่ไม่แน่ใจหรือมีอาการอื่นนอกจากที่บอกไปข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อนตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะหากปล่อยไว้อาจเกิดผลแทรกซ้อนจากไข้หวัดได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไปจนถึงเกิดหลอดลมอักเสบจนมีอาการเหนื่อยหอบได้เลยนะครับ