CPR

ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)

ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)

“ยันฮี”จัดอบรมตำรวจเพื่อช่วยชีวิต CPR ทพญ.ลดาวดี สัมฤทธิวณิชชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลยันฮี พร้อมด้วยนพ. สุรสิทธิ์ สุรเตวัฒน์ แพทย์ศูนย์ฉุกเฉิน (ER) และทีมพยาบาลโรงพยาบาลยันฮี จัดการอบรมและให้ความรู้เรื่องปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ให้แก่ข้าราชการตำรวจจากบกน.7 โดยมีพันตำรวจเอก สุพจน์ เส้นขาว ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 และ พันตำรวจเอก พิรัตน์ นาสฆวาส รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 7 เป็นผู้นำคณะข้าราชการตำรวจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ …………………………………………………………….. รายละเอียดโปรดติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02 879-0300 ต่อ 10145

ฝึกทำ CPR ไว้! อาจช่วยได้อีกหลายชีวิต

ฝึกทำ CPR ไว้! อาจช่วยได้อีกหลายชีวิต

การทำ CPR ไม่ได้ช่วยชีวิตแค่ผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างเดียวเท่านั้น! แต่ยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุอื่น ๆ เช่น จมน้ำ หรือเกิดภาวะขาดออกซิเจน ได้อีกด้วย เพราะการทำ CPR คือการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หยุดกะทันหันให้กลับมาทำงานได้ชั่วคราว ซึ่งเป็นวิธียื้อชีวิตผู้ป่วยในขณะที่กำลังรอการรักษาจากแพทย์หรือหน่วยกู้ภัย แต่การช่วยชีวิตด้วยวิธีนี้มีโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดผลข้างเคียง อย่างกระดูกซี่โครงหักได้ ดังนั้นหมอขอแนะนำให้ให้ทุกคนเข้าไปเรียนรู้การช่วยชีวิตอย่างถูกวิธีตาม สถานพยาบาล หรือแหล่งให้ความรู้ทางสาธารณสุขต่าง ๆ โดยเฉพาะคนที่มีคนใกล้ตัวเป็นโรคหัวใจ จะทำให้เราสามารถช่วยชีวิตคนที่เรารักได้ทันท่วงทีแบบที่ไม่ต้องมีใครเสียใจทีหลังนั่นเองครับ หรือตามไปดูวิธีการ CPR เบื้องต้นที่นี่เลย goo.gl/jQqZJ5

ทำ CPR ขั้นพื้นฐานใน 4 นาที เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้เพื่อนมนุษย์

ทำ CPR ขั้นพื้นฐานใน 4 นาที เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้เพื่อนมนุษย์

“CPR” วิธีการช่วยชีวิตพื้นฐานของผู้มีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งแม้แต่ในคนอายุน้อยก็เป็นได้ การทำ CPR ควรทำภายใน 4 นาที เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจน หากทำร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวิธีการช่วยชีวิตผู้ป่วยเบื้องต้น มีดังนี้ 1. ตรวจดูว่าผู้ป่วยยังหายใจและมีสติอยู่หรือไม่? พร้อมทั้งรีบโทรหา 1669 ให้เร็วที่สุด 2. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย แล้วเปิดทางหายใจให้โล่ง ด้วยการกดหน้าผากและเชิดคาง หรือยกขากรรไกรล่างของผู้ป่วยขึ้น 3. เป่าปาก-จมูกเพื่อช่วยหายใจ ด้วยการบีบจมูกผู้ป่วย สูดลมหายใจเข้าปอด แล้วเป่าลมหายใจให้เต็มที่ ครั้งละ 1-1.5 วินาที 4. ตรวจดูว่าหายใจ หรือไม่ โดยเอียงหูลงไปแนบใกล้ปากและจมูกของผู้หมดสติ ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 10 วินาที 5. เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอกเพื่อปั๊มหัวใจ 15 ครั้งแล้วหยุด แล้วทำต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้อัตรา 100 ครั้งต่อนาที หากน้อยกว่านั้นจะไม่ได้ผล 6. เมื่อผู้หมดสติรู้ตัวแล้วจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น สามารถทำได้หลายแบบแต่มีหลักโดยรวมว่า ควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้น ให้มากที่สุด จัดให้ศีรษะอยู่ต่ำเพื่อป้องกันการสำลักอาเจียนเข้าปอดได้ […]