แผลเบาหวาน

งานวิจัยสำหรับผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า คณะแพทยศาสตร์ มศว.

งานวิจัยสำหรับผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า คณะแพทยศาสตร์ มศว.

แจ้งข่าวสำหรับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามกำหนดได้ติดต่อมายังผู้ประสานงานโครงการวิจัยได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-452-9400 ในวันเวลาราชการ.. (หมายเลขนี้เท่านั้น) ผู้ป่วยที่เข้าโครงการจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ทำวิจัยก่อน พร้อมทั้งได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดวิธีการรักษาและลงนามในเอกสาร ตามที่ระบุโดยอยู่ในข้อกำหนดของคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเบาหวานที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ มีคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้ 1.มีแผลเบาหวานที่เท้ามานานกว่า 3 สัปดาห์ 2.ได้รักษาเบาหวานโดยใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือดมานานเกินกว่า 3 เดือนแล้ว 3.ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c) ยังคงสูงตั้งแต่ 8.5 ขึ้นไป 4.ไม่อยู่ในระหว่างการรักษาโรคหัวใจขั้นรุนแรง 5.ไม่เป็นโรคโลหิตจางขั้นรุนแรง 6.ไม่ได้อยู่ระหว่างใช้ยาสเตียรอยด์หรือยาเคมีบำบัด 7.อายุระหว่าง 18-80 ปี 8.สามารถมารับการตรวจรักษากับแพทย์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่องครบทุกครั้งอย่างน้อย 12 สัปดาห์

ดูแลเท้าในคนเป็นเบาหวานอย่างไรฦ? ลดการติดเชื้อ

ดูแลเท้าในคนเป็นเบาหวานอย่างไรฦ? ลดการติดเชื้อ

การดูแลรักษาแผลของผู้ป่วยเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสะอาด เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้ภูมิต้านทานโรคในร่างกายลดต่ำลง จึงทำให้แผลหายช้า และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าปกติ ดังนั้นการทำความสะอาดแผลที่ถูกวิธีจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากในผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ควรล้างด้วยสบู่ โดยใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเกลือ ไม่ควรล้างด้วยแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ควรล้างให้เบาที่สุด เฉพาะรอบบริเวณผิวหนังที่เป็นแผลเท่านั้น  2. เช็ดให้แห้ง  3. ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีนอย่างเจือจาง 4. ปิดแผลด้วยผ้าปิดที่แห้งและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลโดยตรง และควรทำแผล 2 – 4 ครั้งต่อวัน ถ้าหากแผลบวมแดงขึ้นมีน้ำเหลืองออกมา แม้ว่าจะไม่มีความเจ็บปวดก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องดูแลตัวเองให้ดี ด้วยการควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ พบแพทย์ตามนัด ระมัดระวังไม่ให้เกิดแผลในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพราะเมื่อเกิดแผลแล้วจะรักษาหายได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แผลติดเชื้อ และอาจลุกลามไปถึงขั้นต้องตัดส่วนเนื้ออวัยวะที่ตายทิ้งได้ หากดูแลรักษาไม่ดีนั่นเองครับ

มูลนิธิพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไทย ฯ…สานต่อพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 มอบเครื่องไบโอพลาสมา เครื่องแรกในประเทศไทย ผลิตโดยฝีมือคนไทย ศิริราชนำร่อง รักษาแผลเรื้อรังแผลกดทับและแผลเบาหวาน

มูลนิธิพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไทย ฯ…สานต่อพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 มอบเครื่องไบโอพลาสมา เครื่องแรกในประเทศไทย ผลิตโดยฝีมือคนไทย ศิริราชนำร่อง รักษาแผลเรื้อรังแผลกดทับและแผลเบาหวาน

มูลนิธิพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สานต่อพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 มอบเครื่องไบโอพลาสมา เครื่องแรกในประเทศไทย ที่ผลิตและคิดค้นโดยคนไทย แก่ภาควิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยที่มีแผลรื้อรังแผลติดเชื้อ และผู้ป่วยแผลเบาหวาน โดยจากสถิติพบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยนอนติดเตียงสูงถึง 2 ล้านคนต่อปี ซึ่งผู้ป่วยที่นอนติดเตียงจะมีแผลเรื้อรังและแผลเบาหวานประมาณ 6 แสนคนต่อปี นายทำนุ ธรรมมงคล กล่าวว่า นับเป็นความสำเร็จของคนไทยที่สามารถผลิตเครื่องไบโอพลาสมาได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก ใช้สำหรับดูแลแผลเรื้อรังและแผลเบาหวาน ซึ่งยังไม่มีการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ลักษณะดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตั้งขึ้นมาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณด้านการแพทย์ต่อพสกนิกรชาวไทย 2. ดำเนินการตามพระราชประสงค์และตามแนวพระราชดำรัส “ให้ทำงานวิจัย ค้นคว้า พัฒนาวัสดุฝังในทางการแพทย์สำหรับใช้ในมนุษย์ และให้ทำวิจัยสำหรับใช้ในสัตว์ให้มาก ซึ่งท้ายที่สุดก็จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์” 3. สนับสนุน ดำเนินการ ศึกษา คิดค้น พัฒนาเครื่องมือแพทย์ตามพระราชบัญญัติ เครื่องมือแพทย์ไทย ให้ได้มาตรฐานสากล 4 . ส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ เทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ที่เกิดจากการพัฒนาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นายแพทย์ชาญชัย ฉัตรศิริมงคล […]

มูลนิธิพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบเครื่องไบโอพลาสมา เครื่องแรกในประเทศไทย แก่ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยแผลเรื้อรังและแผลเบาหวาน

มูลนิธิพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  มอบเครื่องไบโอพลาสมา เครื่องแรกในประเทศไทย แก่ โรงพยาบาลศิริราช  เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยแผลเรื้อรังและแผลเบาหวาน

นายทำนุ ธรรมมงคล (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานมูลนิธิพัฒนาเครื่องมือแพทย์ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีมอบเครื่องไบโอพลาสมา เครื่องแรกในประเทศไทย ที่ผลิตและคิดค้นโดยฝีมือคนไทย แก่ภาควิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยแผลเรื้อรังและแผลเบาหวาน จำนวนกว่า 2 ล้านคน โดยมี ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช (ที่ 3 จากขวา) หัวหน้าวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นตัวแทนในการรับมอบ ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกศรีสังวาลย์ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณหญิงโรส บริบาลบุรีภัณฑ์ (ที่ 2 จากซ้าย) และนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ที่ปรึกษามูลนิธิฯ (ที่ 3 จากซ้าย) มาร่วมแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานในการมอบเครื่องไบโอพลาสมา เมื่อเร็วๆ นี้