แผลเบาหวานที่เท้า

งานวิจัยสำหรับผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า คณะแพทยศาสตร์ มศว.

งานวิจัยสำหรับผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า คณะแพทยศาสตร์ มศว.

แจ้งข่าวสำหรับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามกำหนดได้ติดต่อมายังผู้ประสานงานโครงการวิจัยได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-452-9400 ในวันเวลาราชการ.. (หมายเลขนี้เท่านั้น) ผู้ป่วยที่เข้าโครงการจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ทำวิจัยก่อน พร้อมทั้งได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดวิธีการรักษาและลงนามในเอกสาร ตามที่ระบุโดยอยู่ในข้อกำหนดของคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเบาหวานที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ มีคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้ 1.มีแผลเบาหวานที่เท้ามานานกว่า 3 สัปดาห์ 2.ได้รักษาเบาหวานโดยใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือดมานานเกินกว่า 3 เดือนแล้ว 3.ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c) ยังคงสูงตั้งแต่ 8.5 ขึ้นไป 4.ไม่อยู่ในระหว่างการรักษาโรคหัวใจขั้นรุนแรง 5.ไม่เป็นโรคโลหิตจางขั้นรุนแรง 6.ไม่ได้อยู่ระหว่างใช้ยาสเตียรอยด์หรือยาเคมีบำบัด 7.อายุระหว่าง 18-80 ปี 8.สามารถมารับการตรวจรักษากับแพทย์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่องครบทุกครั้งอย่างน้อย 12 สัปดาห์

ดูแลเท้าในคนเป็นเบาหวานอย่างไรฦ? ลดการติดเชื้อ

ดูแลเท้าในคนเป็นเบาหวานอย่างไรฦ? ลดการติดเชื้อ

การดูแลรักษาแผลของผู้ป่วยเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสะอาด เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้ภูมิต้านทานโรคในร่างกายลดต่ำลง จึงทำให้แผลหายช้า และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าปกติ ดังนั้นการทำความสะอาดแผลที่ถูกวิธีจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากในผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ควรล้างด้วยสบู่ โดยใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเกลือ ไม่ควรล้างด้วยแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ควรล้างให้เบาที่สุด เฉพาะรอบบริเวณผิวหนังที่เป็นแผลเท่านั้น  2. เช็ดให้แห้ง  3. ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีนอย่างเจือจาง 4. ปิดแผลด้วยผ้าปิดที่แห้งและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลโดยตรง และควรทำแผล 2 – 4 ครั้งต่อวัน ถ้าหากแผลบวมแดงขึ้นมีน้ำเหลืองออกมา แม้ว่าจะไม่มีความเจ็บปวดก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องดูแลตัวเองให้ดี ด้วยการควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ พบแพทย์ตามนัด ระมัดระวังไม่ให้เกิดแผลในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพราะเมื่อเกิดแผลแล้วจะรักษาหายได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แผลติดเชื้อ และอาจลุกลามไปถึงขั้นต้องตัดส่วนเนื้ออวัยวะที่ตายทิ้งได้ หากดูแลรักษาไม่ดีนั่นเองครับ

ทำไม? ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นแผลที่เท้าได้ง่าย

ทำไม? ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นแผลที่เท้าได้ง่าย

ผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตัดเท้า มีโอกาสมากถึงร้อยละ 50 ที่จะต้องถูกตัดขาอีกข้างหนึ่ง หลังจากถูกตัดขาข้างแรก ในระยะ 3-5 ปี แล้วทำไม? ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นแผลที่เท้าได้ง่าย นั่นก็เพราะว่า เมื่อร่างกายของเรามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ผิวหนังส่วนขาแห้งคัน เกิดการเกา ทำให้มีแผลและติดเชื้อได้ง่าย ที่สำคัญความรู้สึกที่เท้าของเราจะลดลง ทำให้เมื่อเกิดแผลที่เท้าขึ้นจะไม่รู้ตัว เพราะไม่มีความรู้สึกใดๆ รู้ตัวอีกทีแผลก็ติดเชื้อลุกลามไปมากยากต่อการรักษา และเสี่ยงทำให้สูญเสียเท้าแล้วนั่นเองครับ รักษาแผลเบาหวานที่เท้าอย่างไรไม่ให้ถูกตัดขา? อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้เลยครับ https://goo.gl/sXNZ9k สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999

ดูแลผู้ป่วยหลังตัดเท้า เรื่องสำคัญที่ไม่มีใครพูดถึง

ดูแลผู้ป่วยหลังตัดเท้า เรื่องสำคัญที่ไม่มีใครพูดถึง

เป็นที่รู้กันดีว่าแผลของผู้ป่วยเบาหวานนั้นใช้ระยะเวลารักษานานกว่าคนทั่วไป แถมถ้ารักษาไม่ดียังเสี่ยงต่อการติดเชื้อจนแผลเน่าได้อีกต่างหาก แล้วในกรณีของผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากปลายประสาทอักเสบจนต้องตัดเท้าล่ะ จะทำไง? ในระยะแรกที่ผู้ป่วยโดนตัดนิ้วหรือขาจะต้องยังทำการติดตามอาการในโรงพยาบาลก่อน ญาติควรจัดท่าให้ผู้ป่วยยกแผลให้สูงเข้าไว้ และแผลของผู้ป่วยอาจมีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมออกมาได้เป็นปกติ ไม่ต้องตกใจ ต่อมาเมื่ออาการดีขึ้นจนได้กลับบ้าน การเช็ดแผลเองที่บ้านควรทำบริเวณโดยรอบด้วยน้ำเกลือ น้ำสบู่อ่อน หรือแอลกอฮอล์ โดยห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผลโดยตรงเด็ดขาด ในตอนที่ดึงผ้าปิดแผลออกจากแผลควรราดน้ำเกลือให้เปียก เพื่อให้ดึงออกได้ง่ายขึ้น และก่อนกลับบ้านพยาบาลจะอธิบายการดูแลแผลให้ญาติและผู้ป่วยฟัง ในขั้นตอนนี้ควรตั้งใจฟังให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนเกิดผลเสียลุกลามในภายหลังนั่นเองครับ

ดูแลผู้ป่วยหลังตัดเท้า เรื่องสำคัญที่ไม่มีใครพูดถึง

เป็นที่รู้กันดีว่าแผลของผู้ป่วยเบาหวานนั้นใช้ระยะเวลารักษานานกว่าคนทั่วไป แถมถ้ารักษาไม่ดียังเสี่ยงต่อการติดเชื้อจนแผลเน่าได้อีกต่างหาก แล้วในกรณีของผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากปลายประสาทอักเสบจนต้องตัดเท้าล่ะ จะทำไง? ในระยะแรกที่ผู้ป่วยโดนตัดนิ้วหรือขาจะต้องยังทำการติดตามอาการในโรงพยาบาลก่อน ญาติควรจัดท่าให้ผู้ป่วยยกแผลให้สูงเข้าไว้ และแผลของผู้ป่วยอาจมีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมออกมาได้เป็นปกติ ไม่ต้องตกใจ ต่อมาเมื่ออาการดีขึ้นจนได้กลับบ้าน การเช็ดแผลเองที่บ้านควรทำบริเวณโดยรอบด้วยน้ำเกลือ น้ำสบู่อ่อน หรือแอลกอฮอล์ โดยห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผลโดยตรงเด็ดขาด ในตอนที่ดึงผ้าปิดแผลออกจากแผลควรราดน้ำเกลือให้เปียก เพื่อให้ดึงออกได้ง่ายขึ้น และก่อนกลับบ้านพยาบาลจะอธิบายการดูแลแผลให้ญาติและผู้ป่วยฟัง ในขั้นตอนนี้ควรตั้งใจฟังให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนเกิดผลเสียลุกลามในภายหลังนั่นเองครับ

เป็นเบาหวานเสี่ยงโดนตัดเท้าได้ แต่เมื่อไหร่นะที่มีโอกาสเสี่ยง?

เป็นเบาหวานเสี่ยงโดนตัดเท้าได้ แต่เมื่อไหร่นะที่มีโอกาสเสี่ยง?

เป็นเบาหวานเสี่ยงโดนตัดเท้าได้ แต่เมื่อไหร่นะที่มีโอกาสเสี่ยง? อันตรายของโรคเบาหวานนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวโรคเอง แต่อยู่ภาวะแทรกซ้อนของโรค อย่าง ปลายประสาทอักเสบ หลอดเลือดหัวใจ หรือไตทำงานหนักต่างหากละครับ ซึ่งถ้าถามหมอว่าต้องเป็นนานแค่ไหนถึงจะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน หมอไม่สามารถตอบได้ เพราะคำตอบอยู่ที่ตัวคนไข้เอง หากคนไข้สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีเท่าไหร่ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อยลงเท่านั้น แต่ถ้าคนไข้ไม่ควบคุมระดับน้ำตาล หรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วกว่าคนไข้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจกินเวลานานถึง 3-5 ปี และยิ่งในกรณีของอาการปลายประสาทอักเสบ หากปล่อยไว้จนทำให้ต้องตัดเท้าแล้วล่ะก็ โอกาสที่จะถูกตัดเท้าอีกข้างในเวลาต่อมามีมากถึงร้อยละ 50 เลยนะครับ ดังนั้นผู้ป่วยควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังนั่นเองครับ

เป็นโรคเบาหวานอย่าแช่เท้านานเกินไป

เป็นโรคเบาหวานอย่าแช่เท้านานเกินไป

เปียก แฉะ อับชื้น…อาจนั่งสะอื้นตอนหลัง ในช่วงที่มีฝนตกและสภาวะน้ำท่วม หมอขอแนะนำเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรที่จะเอาเท้าแช่น้ำนานเกินไป และต้องรักษาความสะอาดเท้าให้มากกว่าปกตินะครับ เนื่องจากเท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดเชื้อราได้ง่าย ทั้งบริเวณเล็บ และซอกนิ้ว ดังนั้นทั้งคนใกล้ชิดและตัวผู้ป่วยเองควรดูแล ให้เท้าแห้งสนิทอยู่เสมอ รวมถึงไม่ควรแช่เท้านานเกินกว่า 5-10 นาที เพราะจะทำให้ผิวเปื่อย จนเป็นแผลได้นั่นเองครับ หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ หมอแนะนำให้สวมรองเท้าบู๊ททุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและทำความสะอาดเท้าทันทีเมื่อขึ้นจากน้ำ พร้อมทั้งควรสำรวจผิวหนังบริเวณขาและเท้าอย่างสม่ำเสมอ หากมีแผลหรือมีลักษณะคล้ายการติดเชื้อควรรีบไปพบแพทย์ทันทีนะครับ #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999

ABI ตัวช่วยห่างไกลการสูญเสียเท้า

ABI ตัวช่วยห่างไกลการสูญเสียเท้า

ABI ตัวช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้า เป็นการตรวจที่สบาย ๆ ไม่เจ็บ แต่จะช่วยประเมินภาวะอุดตันของหลอดเลือดส่วนปลายได้อย่างแม่นยำถึง 98% นอกจากนั้นยังบอกแนวโน้มของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกลัวอีกต่อไป เพราะเราสามารถรักษาเส้นเลือดส่วนปลายอุดตัน ที่เป็นต้นเหตุของแผลที่เท้าได้ ด้วยการให้ยา การบายพาสหลอดเลือด หรือขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนนั่นเองครับ —————————————————————————– แผลเบาหวานที่เท้าจะมีสัญญาณเตือนอย่างไร และมีวิธีการรักษาอะไรแบบไหนบ้าง ติดตามอ่านได้ที่ http://bit.ly/2nA1llI #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999

เคล็ดลับดูแลเท้า ก่อนจะเน่าไม่รู้ตัว

เคล็ดลับดูแลเท้า ก่อนจะเน่าไม่รู้ตัว

แค่เบาหวานก็ทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตยากมากพอแล้ว ฉะนั้นอย่าให้ลามถึงเท้า!! เรามาดูแลไม่ให้เกิดแผลกันเถอะ… สิ่งสำคัญคือ ควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม บริหารและดูแลเท้าตามที่แพทย์แนะนำสม่ำเสมอ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บเป็นแผล อย่าลืมหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เท้าบ่อย ๆ แค่นี้ก็ช่วยให้เรารู้ตัวและสามารถมารักษาได้ทันท่วงทีแล้วนะครับ #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999