โรคเบาหวาน

งานวิจัยสำหรับผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า คณะแพทยศาสตร์ มศว.

งานวิจัยสำหรับผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า คณะแพทยศาสตร์ มศว.

แจ้งข่าวสำหรับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามกำหนดได้ติดต่อมายังผู้ประสานงานโครงการวิจัยได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-452-9400 ในวันเวลาราชการ.. (หมายเลขนี้เท่านั้น) ผู้ป่วยที่เข้าโครงการจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ทำวิจัยก่อน พร้อมทั้งได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดวิธีการรักษาและลงนามในเอกสาร ตามที่ระบุโดยอยู่ในข้อกำหนดของคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเบาหวานที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ มีคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้ 1.มีแผลเบาหวานที่เท้ามานานกว่า 3 สัปดาห์ 2.ได้รักษาเบาหวานโดยใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือดมานานเกินกว่า 3 เดือนแล้ว 3.ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c) ยังคงสูงตั้งแต่ 8.5 ขึ้นไป 4.ไม่อยู่ในระหว่างการรักษาโรคหัวใจขั้นรุนแรง 5.ไม่เป็นโรคโลหิตจางขั้นรุนแรง 6.ไม่ได้อยู่ระหว่างใช้ยาสเตียรอยด์หรือยาเคมีบำบัด 7.อายุระหว่าง 18-80 ปี 8.สามารถมารับการตรวจรักษากับแพทย์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่องครบทุกครั้งอย่างน้อย 12 สัปดาห์

แผลที่เท้าจากเบาหวาน รักษาได้อาจไม่ต้องตัดเท้า

แผลที่เท้าจากเบาหวาน รักษาได้อาจไม่ต้องตัดเท้า

ในผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะหลอดเลือดที่ขาตีบ ทำให้รู้สึกชาที่เท้า เวลาเป็นแผลเลยไม่รู้สึกเจ็บปวดอะไร หลายคนรู้ตัวอีกทีก็เมื่อแผลลุกลามติดเชื้อถึงขั้นต้องตัดเท้า ศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า https://bit.ly/2HvZiYy สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลเท้าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย หมั่นสังเกตอาการต่างๆ อย่างใกล้ชิด หากมีอาการเท้าชา ผิวหนังบริเวณเท้ามีสีคล้ำลง หรือเป็นแผลเรื้อรังไม่หาย ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้อาจถึงขั้นสูญเสียเท้าได้ ปัจจุบันมีการรักษาที่ช่วยลดโอกาสการสูญเสียเท้าจากแผลเบาหวานได้ ด้วยการขยายหลอดเลือดที่ตีบตัน พร้อมสวนหลอดเลือดเพื่อขยายและใส่โครงค้ำยัน เลือดก็จะไหลเวียนไปเลี้ยงเท้าได้สะดวก ทำให้แผลเรื้อรังหายเร็วขึ้น ช่วยให้รักษาเท้าเอาไว้ได้

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อก่อนอาจจะเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในทุกวันนี้เกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับต้นๆ ของประชากรโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วย แล้วรู้หรือไม่ครับว่า?… โรคนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีพอ ทำให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เห็นได้จากสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นอัตราการตายที่สูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 7 เท่า “โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน” https://goo.gl/ZCr3PS โรคหลอดเลือดหัวใจที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานนั้นป้องกันได้ หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แก้ไขภาวะที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน หรืออื่นๆ ให้เป็นปกติ และในรายที่โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นแล้ว การดูแลตัวเองให้ดี ทานยาอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามนัดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ที่มีโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของระบบเส้นเลือด ABI (Ankle Brachial Index) https://goo.gl/zqLNCG หากตรวจแล้วค่าที่ได้ผิดปกติจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ การตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายเป็นปกติได้ครับ

เบาหวานขึ้นตา คืออะไร? ใครรู้บ้าง

เบาหวานขึ้นตา คืออะไร? ใครรู้บ้าง

เบาหวานขึ้นตา เป็นอีกหนึ่งอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เป็นเบาหวาน เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดที่จอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตันและเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกตินั่นเองครับ อาการของโรคจะไม่แสดงให้เห็นชัดในช่วงแรกๆ จึงทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ชะล่าใจ กว่าจะรู้ตัวอีกที อาการตามัวก็รุนแรงจนลุกลามถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้เลยนะครับ (น่ากลัวจริงๆ) รู้อย่างนี้แล้วคนที่เป็นเบาหวานอย่าวางใจไปนะครับ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าการมองเห็นของเราจะยังคงเป็นปกติก็ตาม รวมถึงการควบคุมอาหาร รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอด้วยนะครับ…

ขอเชิญร่วมกิจกรรม สุขสดใส..วัยคุณภาพ โดยโรงพยาบาลนนทเวช

ขอเชิญร่วมกิจกรรม สุขสดใส..วัยคุณภาพ โดยโรงพยาบาลนนทเวช

ขอเชิญร่วมกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2561 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมนนทเวช ชั้น 6 อาคาร 6 ชั้น โรงพยาบาลนนทเวช สำหรับ 20 ท่านแรกที่ลงทะเบียน รับสิทธิ์ดังนี้ – ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้น โดยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (ไม่มีค่าใช้จ่าย) – ตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) – รับ “ร่มไม้เท้า NTV” กิจกรรมภายในงาน – เสวนา เรื่อง “โรคสมอง เสี่ยงไม่เสี่ยง..แต่เลี่ยงได้” โดย นพ.ชนาพัฒน์ ภัทรมัย อายุรแพทย์ระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท – เสวนา เรื่อง “ดูแลหัวใจอย่างไร ในวัยสูงอายุ” โดย นพ.เรย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ – […]

เป็นเบาหวานกินอย่างไร?.. ไม่ให้น้ำตาลสูง

เป็นเบาหวานกินอย่างไร?.. ไม่ให้น้ำตาลสูง

เป็นเบาหวานกินอย่างไร?.. ไม่ให้น้ำตาลสูง การรับประทานอาหารมากเกินไปจะทำให้น้ำตาลขึ้นสูงหรือขึ้นเร็วเกินไป ในขณะดียวกันถ้าทานน้อยเกินไปอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นอันตรายได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของอาหารแลกเปลี่ยนเพื่อให้สามารถเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมนั่นเองครับ… เราลองมาทำความรู้จักกับหมวดหมู่อาหารแลกเปลี่ยนกันดูว่าเป็นอย่างไร… และที่สำคัญควรรับประทาอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกันไปด้วยนะครับ … ชนะเบาหวานได้อย่างไร? อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิกเลย https://goo.gl/9xRZtx สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999

รู้เท่าทัน ป้องกันโรคเบาหวาน

รู้เท่าทัน ป้องกันโรคเบาหวาน

รู้เท่าทัน… ป้องกันโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเกิดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ สาเหตุมาจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน หรือประสิทธิภาพลดลงจากภาวะดื้ออินซูลินหรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ซึ่งอินซูลินเป็นกุญแจสำคัญในการที่ร่างกายจะนำน้ำตาลไปใช้เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน…นั่นเอง! ** ซึ่งโดยปกติแล้วค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดของคนเราจะอยู่ที่< 80 – 100 มก./ดล. ** ถ้าเจาะเลือดโดยไม่อดอาหารแล้วสูงกว่า 200 มก./ดล. (สามารถตรวจได้แต่มีความแม่นยำน้อยกว่า) หรืออดอาหารแล้วสูงกว่า 126 มก./ดล. แสดงว่า!!! เรามีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานแล้วละครับ หมอขอแนะนำว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมอาหารเป็นวิธีลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้ดีที่สุด และต้องควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูความสมบูรณ์ของร่างกาย ค้นหาความผิดปกติก่อนที่จะลุกลาม เรื้อรัง ซึ่งจะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคเบาหวาน และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขนั่นเอง…ครับ สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999

7 สัญญาณเตือน! อาการเบาหวานถามหา

7 สัญญาณเตือน.. อาการเบาหวานถามหา ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 รองจาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น โรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และอาจเป็นโรคที่ใกล้ตัวสำหรับใครหลายๆ คน เลยนะครับ เพราะปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี แล้วจะรู้ได้อย่างไร? ว่าเรามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เราลองสังเกตอาการของตัวเราดูนะครับว่า มีอาการแปลกๆ แบบนี้กันบ้างหรือเปล่า… 1. หิวน้ำบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ 2. เบื่ออาหาร ทานได้น้อยลงกว่าปกติ 3. น้ำหนักลดโดยไม่รู้สาเหตุ 4. ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน 5. รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียไม่มีแรง 6. ชาตามปลายมือ ปลายเท้า 7. เป็นแผลแล้วหายช้ากว่าปกติ ถ้ามีอาการแปลกๆ แบบนี้แล้วหล่ะก็! เราอาจจะกำลังเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานก็ได้นะครับ แนะนำให้รีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าเราเป็นโรคเบาหวานหรือเปล่าจะดีที่สุดครับ เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกวิธีต่อไปนั่นเองครับ…^-^

ขอเชิญร่วมกิจกรรม สุขสดใส..วัยคุณภาพ โดยโรงพยาบาลนนทเวช

ขอเชิญร่วมกิจกรรม สุขสดใส..วัยคุณภาพ โดยโรงพยาบาลนนทเวช

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2561 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมนนทเวช ชั้น 6 อาคาร 6 ชั้น สำหรับ 20 ท่านแรกที่ลงทะเบียน รับสิทธิ์ดังนี้ – ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้น โดยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (ไม่มีค่าใช้จ่าย) – ตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) – รับ “ร่มไม้เท้า NTV” กิจกรรมภายในงาน – เสวนา เรื่อง “โรคสมอง เสี่ยงไม่เสี่ยง..แต่เลี่ยงได้” โดย นพ.ชนาพัฒน์ ภัทรมัย อายุรแพทย์ระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท – เสวนา เรื่อง “ดูแลหัวใจอย่างไร ในวัยสูงอายุ” โดย นพ.เรย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ – กิจกรรม […]