โรคหัวใจ

เลือกทานอย่างไร? ห่างไกล “โรคหัวใจ”

เลือกทานอย่างไร? ห่างไกล “โรคหัวใจ”

เมื่อพูดถึงโรคหัวใจใครๆ ก็คงไม่อยากเป็นกันทั้งนั้นนะครับ และโรคหัวใจเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องอาหารการกินค่อนข้างมาก ถ้าในแต่ละมื้อเราเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสม ก็จะเป็นการช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อีกทางหนึ่ง 1. รับประทานอาหารหลักให้ครบหมู่ เลือกโปรตีนคุณภาพดีที่มีไขมันต่ำเช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา หรือโปรตีนจากพืชเช่น ถั่วเหลือง 2. หลีกเลี่ยงไขมันดัดแปลง เช่นไขมันทรานส์ ที่มักพบในเนยเทียม ครีมเทียมและขนมสำเร็จรูปต่างๆ รับทานไขมันดี เช่นไขมันจากปลาทะเล และไขมันพืชไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว 3. ลดการบริโภคน้ำตาลและแป้งขัดขาว ที่ทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว และส่วนเกินยังถูกแปลงเป็นไขมันสะสม เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและเบาหวาน ทานแป้งเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง แป้งสาลีไม่ขัดขาว หรือถั่วทั้งเมล็ด ที่นอกจากจะให้พลังงานอย่างช้าๆ แล้วยังอุดมไปด้วยใยอาหารและวิตามินเกลือแร่ที่จำเป็น 4. ลดการบริโภคเกลือ การบริโภคอาหารเค็มจัดเป็นประจำ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ที่จะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้ 5. รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานของเรา เพื่อป้องกันการสะสมไขมันและโรคอ้วน ที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อหัวใจได้ครับ ถึงแม้ว่าการเลือกรับประทานอาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เราก็ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพวิธีอื่นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ การทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด และการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ก็จะช่วยทำให้เราห่างไกลโรคนี้ขึ้นไปอีกแน่นอนครับ ^-^

เป็นโรคหัวใจ!…ใครว่าออกกำลังกายไม่ได้

เป็นโรคหัวใจ!…ใครว่าออกกำลังกายไม่ได้

เป็นโรคหัวใจ!…ใครว่าออกกำลังกายไม่ได้ หมอรามขอเถียงเลยครับ คนเป็นโรคหัวใจก็สามารถออกกำลังกายได้ครับ ซึ่งหากออกกำลังอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายโดยรวมแข็งแรงขึ้น เพียงแต่ก่อนจะออกกำลังควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษา เพื่อประเมินความแข็งแรงของร่างกายและระบบหัวใจ เพื่อจะได้แนะนำการออกกำลังที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตราย ส่งผลดีกับผู้ป่วยให้สามารถออกกำลังได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาพที่ดีขึ้นครับ การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจคือ การออกกำลังกายชนิดแอโรบิกแบบเบาๆ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือการขี่จักรยานอยู่กับที่ อีกทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม แต่ให้ออกกำลังกายทีละน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้อาการของโรคหัวใจดีขึ้นได้ครับ และควรออกกำลังกายให้เป็นประจำ สม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชิน ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 30-60 นาที และที่สำคัญไม่ควรออกกำลังกายเพียงลำพัง ควรจะมีเพื่อนหรือคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจเราดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวขึ้นได้แม้จะเป็นโรคหัวใจก็ตาม… เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราอย่าลืมออกกำลังกายกันด้วยนะครับ ^-^

ทำอย่างไร? เมื่อพบผู้ป่วย หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ทำอย่างไร? เมื่อพบผู้ป่วย หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ชีวิตของคนอื่นอาจอยู่ในมือเราโดยไม่คาดฝัน อาจเป็นคนไม่รู้จักที่พบในรถไฟฟ้า ตลาด เพื่อนๆ ที่โรงเรียน ที่ทำงานหรือแม้แต่คนในครอบครัวเราเองก็ได้ ดังนั้นควรฝึกเตรียมพร้อมรับมือไว้จะดีกว่า หมอรามแนะนำว่าควรหมั่นฝึกฝน ทบทวน จนมั่นใจ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แถมยังมีโอกาสทำบุญช่วยชีวิตคนได้อีกด้วยครับ เมื่อพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ทำอย่างไร? ตามต่อกันได้ที่นี้เลยครับ https://goo.gl/6KDRX5

ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจจริงหรือไม่?

ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจจริงหรือไม่?

ความดันโลหิตสูง…เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจจริงหรือไม่ ? หมอรามขอตอบว่าจริงครับ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายถึง 60-75 % เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีความดันโลหิตสูงและมักไม่รู้ว่าเป็น เพราะไม่แสดงอาการ เเต่เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้ว จึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งอันตรายมากนะครับ อ่านเรื่องโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://goo.gl/2x9Ht3

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเราเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเราเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเราเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีคนอีกมากไม่เคยรู้ว่าตนเองกำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และคิดว่าอาการที่เป็นอยู่บ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจก็สายไปเสียแล้วละครับ คุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า? จุกแน่นกลางหน้าอก อาจจะร้าวไปที่ไหล่ซ้ายด้านในของแขนซ้าย คอ กราม ขากรรไกรหรือหลังได้ อาการเจ็บที่เกิดขึ้นนี้มักจะเป็นแบบกดทับ, จุกแน่น, แสบ, หรือเหมือนถูกบีบรัด มากกว่าเจ็บแบบถูกเข็มแทง, เจ็บแปลบๆ หรือชาๆ อาการเจ็บหน้าอกนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นช่วงกล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือดมาเลี้ยงมากกว่าปกติ เช่น ออกกำลังกาย เดินหรือวิ่งเร็วๆ เดินขึ้นที่สูงชันหรือขึ้นบันได หรือขณะเบ่งอุจจาระ เป็นต้น ถ้าคำตอบคือ “ ใช่ “ วิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกได้แน่นอนว่าอาการต่างๆ ที่น่าสงสัยนั้นเป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอาการต่างๆ เหล่านั้นให้แน่ใจนะครับ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามต่อกันได้ที่นี่คลิ๊ก https://goo.gl/veMwHi

จัดหนักมื้อเย็น เอ็นจอยปากลำบากร่างกาย

จัดหนักมื้อเย็น เอ็นจอยปากลำบากร่างกาย

มื้อเย็นจัดหนักด้วยบุฟเฟ่ต์ ระวัง! อันตรายอาจมาไม่รู้ตัว เพราะการทานอาหารมื้อเย็นที่มากเกินไป แล้วเข้านอนทันทีในไม่กี่ชั่วโมงอาจทำให้มีอาการท้องอืดและเป็นกรดไหลย้อนได้นั่นเองครับ รวมถึงในกรณีของคนที่ใช้พลังงานไม่มากนัก การกินอาหารที่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ และข้อที่ควรระวังมากที่สุดสำหรับ “ผู้ป่วยโรคหัวใจ” การรับประทานอาหารที่มากเกินไปในหนึ่งมื้ออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการกำเริบของหัวใจได้นะครับ

ลองฟังดูสิ ว่าหัวใจบอกอะไร?

ลองฟังดูสิ ว่าหัวใจบอกอะไร?

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ตัวเองกำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ และมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่หลงไปว่าอาการที่ตัวเองเป็นอยู่บ่อยๆ เป็นอาการของโรคที่ไม่ร้ายแรง เป็นเพราะมีกรดในกระเพาะมาก เป็นเพราะเพลียจากการหักโหมงาน กินยาขับลมช่วยย่อย หรือพองานน้อยลงทุกอย่างก็จะดีไปเอง กว่าจะรู้ว่ามันเป็นอาการของโรคหัวใจมันก็สายไปเสียแล้ว วิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกให้ได้แน่นอนว่าอาการต่างๆ ที่น่าสงสัยนั้นเป็นอาการของโรคหัวใจหรือเปล่า ก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คให้แน่ วิธีการตรวจความผิดปกติของหัวใจทำได้หลายวิธียกตัวอย่าง เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า “ EKG ” เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจโดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ อาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถือว่าเป็นการตรวจที่ง่ายและสะดวก ผู้รับการตรวจจะไม่เจ็บจากการตรวจ การตรวจทำได้ โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางสื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางไว้ตรงจุดต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นลงบนกระดาษ —————————————————- อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2kq7Kgp #ศูนย์หัวใจ #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999

อะไรกัน! นั่งนานๆทำหัวใจพังได้จริงหรอ?

อะไรกัน! นั่งนานๆทำหัวใจพังได้จริงหรอ?

นั่งทำงานนาน ๆ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า เพราะการนั่งแช่อยู่กับที่นาน ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี การเผาผลาญไขมันลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกตะกอนของเลือดและไขมันอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจนั่นเองครับ ดังนั้นวิธีการป้องกันการเกินโรคหัวใจจากการนั่งทำงานนาน ๆ ที่ดีที่สุด คือ การลุกขึ้นเดินบ่อย ๆ อย่างน้อยทุก 30 นาทีเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก เท่านี้ก็ช่วยให้เราห่างไกลจากความเสี่ยงของโรคร้ายได้แล้วนะครับ #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999

ต้องเข้าฉุกเฉินไม่รู้กี่รอบ แต่เพราะสิ่งนี้ชีวิตเลยกลับมาดีได้อีกครั้ง

ต้องเข้าฉุกเฉินไม่รู้กี่รอบ แต่เพราะสิ่งนี้ชีวิตเลยกลับมาดีได้อีกครั้ง

หลายคนอยากใช้ชีวิตช่วงหลังวัยทำงานอย่างมีความสุข แต่โรคภัยต่าง ๆ ก็มักจะมาเป็นอุปสรรคกับเราเสมอ เหมือนกับกรณีของคุณศรีสวัสดิ์ กัลยา ที่เข้ามาพบหมอด้วย “อาการหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ” ซึ่งได้เล่าถึงระยะเริ่มต้นที่มักมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย จึงได้ไปหาหมอและรับยามาทานก็ดีขึ้น แต่ก็ยังเป็น ๆ หาย ๆ จนเริ่มบ่อยและนานขึ้น ถึงขั้นใช้ชีวิตปกติไม่ได้ บางครั้งหัวใจเต้นแรงต่อเนื่องตั้งแต่ 8 โมง ถึง บ่าย 2 จึงกลับไปหาหมอที่โรงพยาบาลเดิมอีกครั้ง หมอแนะนำให้รักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุจี้กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อต้องทำการรักษาอย่างจริงจัง คุณศรีสวัสดิ์และครอบครัวจึงเลือกย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง เพราะความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และเครื่องมือที่พร้อมมากกว่า หลังจากการตรวจวินิจฉัยกันอย่างละเอียดอีกครั้ง คุณหมอจึงแนะนำวิธีการรักษาให้ และคนไข้ก็ได้ตัดสินใจรักษาด้วยวิธีการจี้จุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจ ผ่านการสวนหลอดเลือด. คุณศรีสวัสดิ์พักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น ในตอนเช้าก็กลับบ้านได้ และต่อจากนั้น 1 อาทิตย์คุณหมอได้นัดเข้ามาตรวจอาการอีกครั้ง ปราฏกว่าการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ โดยปกติแล้วคุณศรีสวัสดิ์เป็นคนที่ชื่นชอบการเดินทาง แต่ด้วยโรคที่เป็นจึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อสิ่งที่ชอบ การได้รักษาให้หายขาดทำให้คุณศรีสวัสดิ์ได้กลับมาใช้ชีวิตที่ปกติ ดังนั้น ถ้ามีอาการอยากให้ลองมาตรวจดูนะครับ เราอาจมีทางแก้ที่ทำให้คุณไม่ต้องเจอเรื่องแบบนี้ไปตลอดชีวิตก็ได้ #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999

ทำอย่างไรเมื่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ?

ทำอย่างไรเมื่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ?

ทำอย่างไรเมื่อประสบเหตุผู้ป่วย SCA ? – หาสัญญาณชีพ – เรียกคนมาช่วย – การปฐมพยาบาลหรือปั้มหัวใจ – แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน 1669 หรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ระลึกไว้เสมอว่าเราอาจเป็นเทวดา นางฟ้าของใครก็ได้ตลอดเวลา ชีวิตของคนอาจอยู่ในมือเรา โดยไม่คาดฝัน อาจเป็นคนไม่รู้จักที่พบในรถไฟฟ้า ตลาด เพื่อนๆที่โรงเรียน ที่ทำงานหรือแม้แต่คนในครอบครัวเราเองก็ได้ จะป้องกัน SCA หรือภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันอย่างไร ? – ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) – ออกกำลังกายเป็นประจำ – ควบคุมน้ำหนัก -ทานอาหารให้เหมาะสม – งดสูบบุหรี่ – ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ SCA เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งที่มีและไม่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเดิมจะมีความเสี่ยงมากกว่า ควรรับการรักษาและพบแพทย์ตามนัด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ram-hosp.co.th #อบอุ่น #เชี่ยวชาญ #โรงพยาบาลรามคำแหง สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999