diabetes

รู้ทันอาการชาบริเวณมือและเท้า จากโรคเบาหวาน

รู้ทันอาการชาบริเวณมือและเท้า จากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการอักเสบของเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุหลักของปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดสูงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือด ส่งผลให้เส้นประสาทนำไฟฟ้าได้ดี นอกจากนี้โรคเบาหวานยังทำให้เกิดการทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาท ทั้งนี้โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทในผู้ป่วยเบาหวานมีด้วยกันอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ 1. เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยเบาหวานโดยผู้ป่วยที่เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม จะมีอาการชา เนื่องจากสูญเสียประสาทรับความรู้สึก เริ่มจากบริเวณปลายนิ้วเท้า และมักจะเกิดขึ้นที่เท้าทั้ง 2 ข้าง ลุกลามไปเรื่อยๆ โดยนอกจากอาการชา ที่เหมือนเป็นเหน็บแล้ว ความรู้สึกจากการสัมผัสอาจลดลงหรือไม่รู้สึกเลยก็เป็นได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจจะปวดเส้นประสาท ซึ่งจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน เหมือนถูกไฟฟ้าช็อต มักจะเกิดขึ้นกับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขาและเท้า โดยอาการจะเกิดขึ้นบ่อยเฉพาะเวลานอน 2. ความผิดปกติของเส้นประสาทเส้นใดเส้นหนึ่ง ได้แก่ เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อตา ส่งผลให้สูญเสียระบบการทำงานของกล้ามเนื้อลูกตา และมีอาการกลอกตาไม่ได้ , มองเห็นเป็นภาพซ้อน โดยอาการจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวแล้วจะดีขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดอาการขึ้นได้กับ เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ทำให้ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท โดยอาการที่กล่าวมาข้างต้นจะดีขึ้นได้เองภายใน 2-12 เดือน 3. ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงระบบต่างๆ โดยอาจจะมีอาการ ดังต่อไปนี้ – หลอดอาหาร จะมีการบีบตัวลดลง ทำให้กลืนลำบาก และอาจมีอาการเจ็บหน้าอกลักษณะคล้ายเป็นโรคหัวใจ […]

การเกิดแผลเบาหวาน

การเกิดแผลเบาหวาน

อาการ แผลเบาหวาน ( Diabetic Ulcer ) เป็นภาวะแทรกซ้อนพบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ และเกิดอาการชา หรือไร้ความรู้สึกบริเวณปลายมือและเท้า เนื่องจากหลอดเลือดทำงานผิดปกติ และหากเกิดเป็นแผลขึ้น จะทำให้หายช้าหรือกลายเป็นแผลเรื้อรังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีไขมันและน้ำตาลที่ไม่ถูกย่อยสลาย ไปจับตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบและแข็งจนเกิดการอุดตัน ทั้งหมดนี้อาจทำให้เกิดแผลได้โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า ซึ่งเป็นส่วนที่ขาดเนื้อเยื่อไปล่อเลี้ยง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่การตัดอวัยวะจากการติดเชื้อได้ในที่สุด เป็นเหตุที่อาจทำให้เสียขา ไปจนถึงเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น มีวิธีการสังเกตอาการแผลเบาหวานด้วยตาเปล่าได้ คือ หากพบของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นผิดปกติไหลออกมาจากผิวหนัง และผิวหนังมีสีหรือลักษณะที่เปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เพราะอาจทำให้แผลเสี่ยงต่อการเน่าและติดเชื้อได้ ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์แล้ว แพทย์อาจไม่สามารถระบุได้ว่า แผลดังกล่าวเป็นแผลเบาหวานหรือไม่ เนื่องจากลักษณะของแผลอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน ดังนั้นแพทย์อาจต้องซักประวัติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนอื่นเพิ่มเติม ทั้งนี้การป้องกันแผลเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานป้องกันการเกิดแผลเบาหวานได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต อาทิ งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมระดับไขมันในเลือด ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงจนเกินไป และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมไปถึงระมัดระวังไม่ให้เกิดแผล โดยเฉพาะที่เท้า ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ – ล้างเท้าให้สะอาดทุกวัน – ตัดเล็บเท้าอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้ยาวหรือตัดสั้นจนเกินไป – […]

โรคเบาหวานกับอาการโรคแทรกซ้อน

โรคเบาหวานกับอาการโรคแทรกซ้อน

โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus: DM, Diabetes ) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยทั้งหมดนี้เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินขาดหรือฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดตามมา ซึ่งหากไม่มีการควบคุมเรื่องการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกาย นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อาการของโรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ทั้งนี้อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายคลึงกัน ตรงที่ส่วนใหญ่จะมีอาการ อาทิ กระหายน้ำ , ปากแห้ง , ปัสสาวะบ่อย ในปริมาณมาก , น้ำหนักตัวลด , อ่อนเพลีย , ไม่มีแรง ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะกรดคีโตนคั่งในเลือด และภาวะการเสียการรู้สติจากน้ำตาลสูงในเลือด อีกทั้งโรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน ได้แก่ โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็ก ( Microvascular Complications ) เช่น เบาหวานขึ้นตา , โรคไต หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ ( Macrovascular Complications) เช่น โรคหัวใจ […]

เช็คก่อน รู้ทันก่อน ดูแลและระวังโรคเบาหวาน

เช็คก่อน รู้ทันก่อน ดูแลและระวังโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ( Diabetes ) คือ ภาวะที่กระแสเลือดมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินลดลง เป็นเหตุให้น้ำระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยสูงอายุ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ทั้งนี้โรคเบาหวานเมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยจะไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ นอกจากปฏิบัติตามวิธีการและดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อประคองอาการของโรคไม่ให้ทวีความรุนแรงขึ้น เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ อาทิ ตา , ไต รวมไปถึงระบบประสาท ทั้งนี้สาเหตุของโรคเบาหวาน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ , ความอ้วน , ความผิดปกติของตับอ่อน และนิสัยในการรับประทานอาหาร โดยโรคเบาหวานมีสัญญาณที่เตือนกับร่างกาย อาทิ อ่อนเพลียง่าย , น้ำหนักลดลง , ปัสสาวะบ่อยขึ้น , หิวน้ำมากกว่าปกติ มีอาการตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ , ปวดขา หรือปวดเข่า ผิวหนังแห้ง , เป็นฝีตามตัวบ่อย , อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย และเมื่อเป็นแผลจะหายช้า ไม่แห้งสนิท หรือไม่ขึ้นสะเก็ดเสียที […]

3 คำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานทั้งโลกสงสัย

คำถามยอดฮิตที่ผู้ป่วยเบาหวานและญาติสงสัย Q : ทำไมต้องคุมอาหาร ทั้งๆ ที่ทานยาอยู่แล้ว? A: ที่ต้องเป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า คนเป็นเบาหวานจะมีปัญหาในการหลั่งอินซูลิน ยาจึงเป็นตัวช่วยให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น แต่อาจไม่สามารถดีได้เท่าเดิม เราจึงต้องช่วยร่างกายด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงร่วมด้วยนั่นเองครับ Q : ออกกำลังกาย ช่วยให้เบาหวานดีขึ้นได้อย่างไร? A :เพราะการออกกำลังกายช่วยทำให้เซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้มากขึ้นทำให้ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น หมอขอแนะนำว่าการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ โยคะ + เต้นแอโรบิค ในระยะเวลาครึ่งชั่วโมงขึ้นไป Q : เมื่อรักษาเบาหวานจนดีขึ้นแล้ว ทำไมยังต้องไปหาหมออยู่อีก? A :โดยรวมแล้วก็เพื่อตรวจเช็กอาการแทรกซ้อนของโรค แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น คือค่าเบาหวานของผู้ป่วยสามารถขึ้น-ลงได้ตลอดเวลา การใช้ยาตัวเดิมอยู่ตลอดอาจไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ทุกครั้ง จึงทำให้หมอต้องนัดคนไข้เข้ามาตรวจดูเป็นครั้งคราวนั่นเองครับ หากใครยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999

เป็นเบาหวานเสี่ยงโดนตัดเท้าได้ แต่เมื่อไหร่นะที่มีโอกาสเสี่ยง?

เป็นเบาหวานเสี่ยงโดนตัดเท้าได้ แต่เมื่อไหร่นะที่มีโอกาสเสี่ยง?

เป็นเบาหวานเสี่ยงโดนตัดเท้าได้ แต่เมื่อไหร่นะที่มีโอกาสเสี่ยง? อันตรายของโรคเบาหวานนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวโรคเอง แต่อยู่ภาวะแทรกซ้อนของโรค อย่าง ปลายประสาทอักเสบ หลอดเลือดหัวใจ หรือไตทำงานหนักต่างหากละครับ ซึ่งถ้าถามหมอว่าต้องเป็นนานแค่ไหนถึงจะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน หมอไม่สามารถตอบได้ เพราะคำตอบอยู่ที่ตัวคนไข้เอง หากคนไข้สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีเท่าไหร่ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อยลงเท่านั้น แต่ถ้าคนไข้ไม่ควบคุมระดับน้ำตาล หรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วกว่าคนไข้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจกินเวลานานถึง 3-5 ปี และยิ่งในกรณีของอาการปลายประสาทอักเสบ หากปล่อยไว้จนทำให้ต้องตัดเท้าแล้วล่ะก็ โอกาสที่จะถูกตัดเท้าอีกข้างในเวลาต่อมามีมากถึงร้อยละ 50 เลยนะครับ ดังนั้นผู้ป่วยควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังนั่นเองครับ

โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคนี้ค่อนข้างเยอะ โรคเบาหวานเกิดจากอะไรแล้วทำไมคนไทยถึงเป็นกันมากและพบได้ทุกช่วงวัย จึงควร “ทำความรู้จักกับ โรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมา” ข้อมูลที่มาจาก https://www.youtube.com/watch?v=mSK5DD3q_bo โรคเบาหวาน แบ่งเป็น 2 ชนิด • ชนิด ที่หนึ่ง (Type 1) ซึ่งพบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น เด็กอายุน้อยๆอย่างนี้เป็นเบาหวานได้เช่นกัน Type 1 Diabetes นี้เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ กรณีนี้ผู้ป่วยจึงต้องฉีดอินซูลินตลอดชีวิต • ชนิดที่สอง (Type 2) Diabetes Type 2 ตรวจพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้น Type 2 Diabetes พบในประเทศไทยกว่า 90% เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่แสดงอาการใดๆ สาเหตุของโรคเบาหวาน อาจเกิดจากความผิดปกติของการการออกฤทธิ์ การสร้าง หรืออาจเกิดจากกลไกทั้งสองอย่างนี้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งระยะแรกๆระดับน้ำตาลจะไม่สูงแต่หากปล่อยไว้เป็นเวลานานจะทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง สามารถไปทำลาย สมอง […]