โรคหัวใจ

ดูแลตนเอง.. เมื่อป่วยโรคหัวใจ

ดูแลตนเอง.. เมื่อป่วยโรคหัวใจ

โรคหัวใจ เป็นโรคอันตรายที่มีอัตราการเสียชีวิตจำนวนมาก การดูแลเอาใส่ใจผู้ป่วยโรคหัวใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคไม่ให้ลุกลาม วันนี้เรามีคำแนะนำการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจมาฝากกันครับ  รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองแม้ว่าอาการจะดีขึ้น  สร้างวินัยการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ นอกจากนี้แนะนำให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายอย่างปลาทะเล เพราะมีโอเมก้า3 ที่มีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด  งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย หรือควรเริ่มแบบเบาๆ เช่น การเดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น โดยออกกำลังกายเป็นประจำ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์  การผ่อนคลายความเครียด สามารถทำได้โดยการฝึกสมาธิ เล่นโยคะ หรือการดูหนังฟังเพลง และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  ควบคุมปัจจัยเสี่ยง ที่จะทำให้โรคกำเริบ เช่น หากมีโรคความดันโลหิตสูง ควรระวังเรื่องการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง หรือหากมีโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน เพื่อรักษาระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ข้อมูลดีๆ จาก.. น.พ.สันติ ฤทธิ์วิชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลหัวเฉียว

ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

❤️หมอหัวใจฝากมาบอก!! ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป โรคหัวใจนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกอันดับ 1 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งคนไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องล่าสุดสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน และถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วยจะมีอัตราการเสียชีวิตการเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13%และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี ↔️ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ประมาณ20% ↔️เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10% ↔️หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10% เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่ โดยเชื่อว่าเกิดจาก ☑️มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ☑️ผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้ คุณหมอหัวใจยังเตือนอีกว่า คนที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหรือโรคในกลุ่มหลอดเลือด จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพบโรคร่วมในการติดเชื้อ COVID-19 ได้ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ในโรคเดิมของผู้ป่วยเอง ดังนี้ ↔️โรคหัวใจพบในผู้ป่วยติดเชื้อได้ 15% โดยแบ่งเป็น – เส้นเลือดหัวใจตีบ ประมาณ […]

เครียดมากไป โรคหัวใจอาจถามหา

เครียดมากไป โรคหัวใจอาจถามหา

คุณกำลังเครียดอยู่หรือเปล่า หยุดอ่านสักนิดเพื่อชีวิตที่ยืนยาว ความเครียดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจขึ้นได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนทำงานในปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับเรื่องของสภาพสังคม เศรษฐกิจ ครอบครัว ซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียดทั้งนั้นครับ ผลการวิจัยโดยศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เผยว่าผู้ที่เผชิญกับความเครียดเป็นประจำมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่มีความเครียดน้อยถึง 27 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การจัดการกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ วิธีง่ายๆที่เราสามารถทำได้ อย่างเช่น การหาเวลาไปพักผ่อน ไปท่องเที่ยวเปลี่ยนบรรยากาศ พูดคุยกับเพื่อน คิดถึงเรื่องที่ทำให้เรามีความสุข  การใช้เวลาอยู่กับครอบครัว สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ความเครียดของเราลดน้อยลงไปได้ครับ อย่าลืมนะครับว่า สุขภาพใจก็มีส่วนสำคัญช่วยให้สุขภาพกายของเราดีได้เหมือนกัน พยายามอย่าเครียดกันนะครับทุกคน แล้วร่างกายที่แข็งแรงจะอยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน

ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดในผู้ป่วยโรคหัวใจดีอย่างไร?

ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดในผู้ป่วยโรคหัวใจดีอย่างไร?

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ จะช่วยให้ผู้ป่วบกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรง และทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ประโยชน์ที่ผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับ คือ ✔️ ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ✔️ การควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น ✔️ ระดับไขมันในเส้นเลือดลดลง ✔️ ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นโรคหัวใจอีก ✔️ ลดอาการเครียดและภาวะซึมเศร้า ✔️ สุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการออกกำลังกาย และ การให้คำแนะนำและเรียนรู้เรื่องโรคหัวใจของคุณ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ จะเป็นผู้ประเมินและวางแผนโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/2ZzOBOm

เจ็บหน้าอกแบบไหน? ใช่สัญญาณเตือนหลอดเลือดหัวใจตีบ

เจ็บหน้าอกแบบไหน? ใช่สัญญาณเตือนหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ จนกระทั่งหลอดเลือดเริ่มตีบมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง จึงทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนถูกบีบรัดแน่นบริเวณตรงกลางหน้าอก อาจร้าว

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ✔️ ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย ✔️ การตรวจคลื่นไฟฟ้า EKG ✔️ การตรวจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อจับภาพเคลื่อนไหวของหัวใจ การทำงานและโครงสร้างของหัวใจ ✔️ การสวนหัวใจ เป็นการตรวจเอกซเรย์โดยสอดสายยางขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดที่ขาหนีบ และสอดไปตามเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจ สารมีสีชนิดพิเศษจะถูกฉีดผ่านสายยางนี้ เส้นเลือดบริเวณที่ตีบหรืออุดตันก็จะตรวจพบได้จากภาพเอกซเรย์ ✔️ การตรวจหาระดับเอนไซม์ในเลือด (Blood enzyme tests และCardiac enzyme) ✔️ การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise StressTest) เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่ออกกำลังกาย โดยการเดินบนสายพาน หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ ศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลรามคำแหง https://bit.ly/341sVtE

เช็คจังหวะหัวใจ เท่าไหร่? ถึงปกติ

เช็คจังหวะหัวใจ เท่าไหร่? ถึงปกติ

❤️  เช็คจังหวะหัวใจ เท่าไหร่? ถึงปกติ ✔️ ในขณะนั่งพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที ✔️ ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเป็นประมาณ 80-100 ครั้งต่อนาที ✔️ ในขณะวิ่งหัวใจจะเต้นมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที หัวใจที่เต้นผิดปกติ จะมีอัตราการเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายในขณะนั้น ซึ่งอาจมีจังหวะการเต้นที่ผิดปกติร่วมด้วย หัวใจที่เต้นผิดปกติมีอาการได้หลายอย่างตั้งแต่ไม่มีอาการเลย หรือมีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลม หมดสติ รุนแรงที่สุดอาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกได้แน่นอนว่าอาการต่างๆ ที่น่าสงสัยนั้นเป็นอาการของโรคหัวใจหรือเปล่า ก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจครับ… “หัวใจเต้นผิดปกติ” ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/2FNr0O8

มะเร็งลำไส้ใหญ่…รู้เร็ว รักษาหายได้

เนื่องในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเป็นเดือน Colon Cancer Month หรือ เดือนที่ทั่วโลกรณรงค์ในเรื่องของมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงภัยของโรค เพราะ มะเร็งลําไส้ใหญ่เป็นหนึ่งในมะเร็งยอดฮิตติดอับต้น ๆ จากการสํารวจในประชากรโลกและในประเทศไทยเอง โดยพบผู้ป่วยมะเร็งลําไส้ใหญ่ ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และยังพบผู้ป่วยในอัตราที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เป็นมะเร็งที่นำไปสู่การเสียชีวิตอันดับสองของโรคมะเร็งทั้งหมด สำหรับสาเหตุเกิดจากการที่คนส่วนใหญ่ละเลยการดูแลตัวเองในเรื่องของพฤติกรรมการทานอาหาร เช่น ทานเนื้อสัตว์มากเกินไป ทานอาหารที่มีไขมันสูง และ ไม่ทานหรือทานผักผลไม้ที่มีกากใยน้อย ท้องผูก ประกอบกับละเลยในการตรวจคัดกรองโรค (Screening Colorectal Cancer) วิธีการตรวจคัดกรองโรค (Screening Colorectal Cancer) จะทำการตรวจยีนและส่องกล้อง ทั้งเพศชายและเพศหญิง หากละเลยจะทําให้ตรวจพบในระยะท้าย ๆ ที่มีการแสดงอาการของโรคแล้ว ดังนั้น หากเราหันมาสนใจดูแลสุขภาพกันเพิ่มขึ้นโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพแบบตรงจุดเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือหากเป็นโรค เมื่อได้รับการตรวจพบโรคแต่เนิ่น ๆ จะสามารถเพิ่มโอกาสให้รักษาหายได้ นพ.ธรณัส กระต่ายทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรคตับ และแพทย์ผู้ชํานาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย กล่าวว่า “ ปัจจุบันเรายังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งลําไส้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นร่วมกันมากกว่าหนึ่งปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจากพันธุกรรม […]

มะเร็งลำไส้ใหญ่…รู้เร็ว รักษาหายได้

เนื่องในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเป็นเดือน Colon Cancer Month หรือ เดือนที่ทั่วโลกรณรงค์ในเรื่องของมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงภัยของโรค เพราะ มะเร็งลําไส้ใหญ่เป็นหนึ่งในมะเร็งยอดฮิตติดอับต้น ๆ จากการสํารวจในประชากรโลกและในประเทศไทยเอง โดยพบผู้ป่วยมะเร็งลําไส้ใหญ่ ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และยังพบผู้ป่วยในอัตราที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เป็นมะเร็งที่นำไปสู่การเสียชีวิตอันดับสองของโรคมะเร็งทั้งหมด สำหรับสาเหตุเกิดจากการที่คนส่วนใหญ่ละเลยการดูแลตัวเองในเรื่องของพฤติกรรมการทานอาหาร เช่น ทานเนื้อสัตว์มากเกินไป ทานอาหารที่มีไขมันสูง และ ไม่ทานหรือทานผักผลไม้ที่มีกากใยน้อย ท้องผูก ประกอบกับละเลยในการตรวจคัดกรองโรค (Screening Colorectal Cancer) วิธีการตรวจคัดกรองโรค (Screening Colorectal Cancer) จะทำการตรวจยีนและส่องกล้อง ทั้งเพศชายและเพศหญิง หากละเลยจะทําให้ตรวจพบในระยะท้าย ๆ ที่มีการแสดงอาการของโรคแล้ว ดังนั้น หากเราหันมาสนใจดูแลสุขภาพกันเพิ่มขึ้นโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพแบบตรงจุดเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือหากเป็นโรค เมื่อได้รับการตรวจพบโรคแต่เนิ่น ๆ จะสามารถเพิ่มโอกาสให้รักษาหายได้ นพ.ธรณัส กระต่ายทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรคตับ และแพทย์ผู้ชํานาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย กล่าวว่า “ ปัจจุบันเรายังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งลําไส้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นร่วมกันมากกว่าหนึ่งปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจากพันธุกรรม […]

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อก่อนอาจจะเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในทุกวันนี้เกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับต้นๆ ของประชากรโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วย แล้วรู้หรือไม่ครับว่า?… โรคนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีพอ ทำให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เห็นได้จากสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นอัตราการตายที่สูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 7 เท่า “โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน” https://goo.gl/ZCr3PS โรคหลอดเลือดหัวใจที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานนั้นป้องกันได้ หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แก้ไขภาวะที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน หรืออื่นๆ ให้เป็นปกติ และในรายที่โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นแล้ว การดูแลตัวเองให้ดี ทานยาอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามนัดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ที่มีโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของระบบเส้นเลือด ABI (Ankle Brachial Index) https://goo.gl/zqLNCG หากตรวจแล้วค่าที่ได้ผิดปกติจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ การตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายเป็นปกติได้ครับ

1 2 3 4