โรงพยาบาลรามคำแหง

วิธีดูแลเท้า ที่คนเป็นเบาหวานควรรู้

วิธีดูแลเท้า ที่คนเป็นเบาหวานควรรู้

การดูแลระวังรักษาเท้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเรื้อรังหรือติดเชื้อรุนแรงมากกว่าคนปกติ และถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพออาจลุกลามถึงขั้นต้องเสียนิ้วหรือเสียขาได้ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลเท้าให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้มีแผลเกิดขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ ☑️ หมั่นสำรวจเท้าทุกวันว่ามีแผล รอยบวมแดง ตุ่มน้ำใส หรือสีของเล็บ ☑️ ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันด้วยสบู่อ่อนๆ หรือน้ำธรรมดา และเช็ดเท้า ซอกนิ้วให้แห้ง อย่าถูแรง ☑️ ทาน้ำมันวาสลินหรือโลชั่น ให้ผิวหนังนุ่มป้องกันผิวแห้ง คันใส่รองเท้าตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน ระวังเหยียบของมีคม หนาม หรือของร้อน ☑️ ใส่รองเท้าขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมเกินไป นิ่ม สบาย ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในรองเท้าก่อนใส่ และใส่ถุงเท้าทุกครั้ง ☑️ เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดตรงๆ ระวังไม่ให้ถูกเนื้อ ☑️ ถ้าเท้าชื้นมีเหงื่อออกต้องเช็ดให้แห้งเสมอ ☑️ บริหารเท้าทุกวันด้วยการแกว่งเท้าไปมา เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปที่เท้าดีขึ้น ☑️ หากเกิดแผล ให้ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล หากเกิดการอักเสบให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพเท้าที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดแผลที่เท้าและไม่ลุกลามจนต้องถูกตัดขา… ทำความเข้าใจโรคแผลเบาหวานที่เท้าและวิธีการรักษาโดยไม่ต้องตัดเท้าhttps://www.ram-hosp.co.th/news_detail/40

ตับแข็งแรงได้ภายใน 3 เดือน แค่หยุดดื่มแอลกอฮอร์

แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอวัยวะภายในอย่างเช่น “ตับ” ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น

คำถาม?… ที่คนไข้เบาหวาน ชอบถามหมอบ่อยๆ

คนไข้ : ทำไมต้องคุมอาหาร ทั้งๆ ที่ทานยาอยู่แล้ว? หมอราม : ที่ต้องให้คนไข้ควบคุมอาหารก็เพราะว่า คนที่เป็นเบาหวานจะมีปัญหาในการหลั่งอินซูลิน ยาเป็นตัวช่วยให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น แต่อาจไม่สามารถดีได้เท่าเดิม คนไข้จึงต้องช่วยดูแลร่างกายตัวเองไปพร้อมๆ กัน ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ผลไม้ที่มีรสหวาน น้ำอัดลม คนไข้ : การออกกำลังกายช่วยให้เบาหวานดีขึ้นจริงไม? หมอราม : การออกกำลังกายจะช่วยทำให้เซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้มากขึ้น ทำให้สามารถคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น แนะนำว่าการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้เบาหวาน คือ เล่นโยคะ เต้นแอโรบิคนานอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงขึ้นไป คนไข้ : รักษาเบาหวานจนดีขึ้นแล้ว ทำไม? ยังต้องไปหาหมออยู่อีก หมอราม : โดยรวมแล้วก็เพื่อตรวจเช็กอาการแทรกซ้อนของโรค แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น คือค่าเบาหวานของผู้ป่วยสามารถขึ้นๆ ลงๆได้ตลอดเวลา การใช้ยาตัวเดิมอยู่ตลอดอาจไม่สามารถคุมเบาหวานได้ทุกครั้ง จึงทำให้แพทย์ต้องนัดคนไข้เข้ามาตรวจดูอาการและปรับเปลี่ยนยาอยู่ตลอดนั่นเอง

อย่ากังวลกับ COVID-19 จนลืมพาเด็กๆ ไปฉีดวัคซีน

อย่ากังวลกับ COVID-19 จนลืมพาเด็กๆ ไปฉีดวัคซีน

เด็กจะมีภูมิต้านทานโรคบางชนิดที่รับมาจากแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และการกินนมแม่ก็ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่เด็กได้ แต่ภูมิต้านทานนี้จะคงอยู่เพียงชั่วคราว การฉีดวัคซีนจึงเป็นการช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่เด็กได้ในระยะยาว วัคซีนพื้นฐานที่เด็กควรได้รับเริ่มตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 12 ปี การฉีดวัคซีนเด็กควรเป็นไปตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน เพื่อสุขภาพของเด็กและลดการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งคุณหมอจะแนะนำและนัดให้เด็กมาฉีดวัคซีนให้ครบอยู่แล้ว หรือคุณพ่อคุณลองเช็คดูก็ได้ว่าลืมตัวไหนไปบ้างหรือป่าว? … ถ้ามีก็ให้พาลูกไปฉีดได้เลย นอกจากวัคซีนที่ควรฉีดให้ครบตามที่คุณหมอแนะนำแล้ว ยังมีวัคซีนเสริมที่อยากให้พาเด็กๆ ไปฉีด นั้นก็คือ “วัคซีนไข้หวัดใหญ่” และยิ่งในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี หรือมีโรคประจำตัวด้วยแล้วล่ะก็ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย สามารถฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป หลังฉีดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่มามากขึ้นและอยู่ไปอีกประมาณ 1 ปี ดังนั้นจึงควรพาเด็กๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปีด้วยนะครับ ถ้าให้ดีที่สุด ก็ควรจะฉีดวัคซีนทั้งบ้านไปเลย เพราะจะได้มีภูมิต้านทานกันทุกคน เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าคนในบ้านของเรา มีใครไปรับเชื้อไข้หวัดใหญ่กันมาบ้างมั๊ย โรงพยาบาลรามคำแหง มีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเข้มงวดตั้งแต่เริ่มมีข่าวการแพร่ระบาด คุณพ่อคุณแม่ พาเด็กๆ มาฉีดวัคซีนตามนัดได้อย่างมั่นใจ คลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/514

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

เบาหวานอาจเป็นโรคใกล้ตัวของใครหลายๆ คน เพราะนอกจากจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยแล้ว ยังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ถ้าเราสามารถตรวจพบเจอได้ตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะทำให้การดูแลรักษาควบคุมโรคเป็นไปได้ด้วยดี โรคก็จะไม่ลุกลามและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ตามมา เสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่?… สามารถสังเกตได้จาก ✔️ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน ✔️ หิวน้ำบ่อย ✔️ น้ำหนักขึ้นลง ผิดปกติ ✔️ กินเยอะ ยิ่งกินยิ่งผอม ✔️ ตามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด ✔️ เวลาเป็นแผล แผลจะหายช้ากว่าปกติ ใครที่มีอาการดังกล่าว ร่วมกับมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยการเจาะเลือดตรวจ เพราะหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้รีบรักษาและรับคำแนะนำการดูแลตัวเองที่ถูกต้องจากแพทย์

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

สัญญาณการมาเยือนของ “โรคเบาหวาน”

เบาหวานอาจเป็นโรคใกล้ตัวของใครหลายๆ คน เพราะนอกจากจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยแล้ว ยังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ถ้าเราสามารถตรวจพบเจอได้ตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะทำให้การดูแลรักษาควบคุมโรคเป็นไปได้ด้วยดี โรคก็จะไม่ลุกลามและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ตามมา เสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่?… สามารถสังเกตได้จาก ✔️ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน ✔️ หิวน้ำบ่อย ✔️ น้ำหนักขึ้นลง ผิดปกติ ✔️ กินเยอะ ยิ่งกินยิ่งผอม ✔️ ตามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด ✔️ เวลาเป็นแผล แผลจะหายช้ากว่าปกติ ใครที่มีอาการดังกล่าว ร่วมกับมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยการเจาะเลือดตรวจ เพราะหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้รีบรักษาและรับคำแนะนำการดูแลตัวเองที่ถูกต้องจากแพทย์

COVID-19 ในเด็ก และภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่ต้องจับตามอง

COVID-19 ในเด็ก และภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่ต้องจับตามอง

แม้ว่าเราจะรู้จักโรค COVID-19 มาได้สักระยะแล้ว แต่ก็ยังมีข้อมูลข่าวสารใหม่ๆมาให้ได้ติดตามอยู่เสมอ อย่างเช่นข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่ต้องจับตามองของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อไวรัสที่ก่อโรค COVID-19) ที่มีรายงานมาเมื่อเร็วๆนี้ ข้อมูลในช่วงต้นของการระบาดของโรค COVID-19 ในทวีปเอเชีย พบว่าโรคนี้เกิดในเด็กได้ค่อนข้างน้อย เพียง 1-2% ของผู้ป่วยทั้งหมด อีกทั้งผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ โดยพบเด็กที่มีอาการรุนแรงเพียง 2-5% ของผู้ป่วยเด็กทั้งหมดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามหลังจากมีการระบาดของโรคไปยังทวีปต่างๆ มากขึ้น มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น ก็พบจำนวนผู้ป่วยเด็กที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะที่กำลังมีการระบาดของโรค COVID-19 อย่างหนักในทวีปยุโรป และอเมริกาเหนืออยู่นั้น ก็ได้มีการรายงานการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของกลุ่มผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ต้องได้รับการรักษาในไอซียูด้วยอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ อาการของเด็กๆ เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับโรคคาวาซากิ (Kawasaki) ซึ่งเป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย โดยโรคคาวาซากินั้นมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่จากรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยเด็กที่พบการอักเสบของอวัยวะหลายระบบที่สงสัยว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับโรค COVID-19 นั้น พบว่าเกิดในช่วงอายุตั้งแต่ 2-17 ปีเลยทีเดียว อาการที่พบในผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้ได้แก่ อาการไข้ ผื่นแดงตามตัว ตาแดง ปากแดง ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ไปจนถึง หัวใจอักเสบ หลอดเลือดหัวใจผิดปกติ ความดันต่ำ อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว […]